เกร็ดความรู้สู้โรค
โรคซึมเศร้านั้นอาการเป็นอย่างไร
23 มกราคม 2563

720


โรคซึมเศร้า

เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกคน จัดเป็นโรคผิดปกติทางอารมณ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งจะมีการพัฒนามาจากช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นช่วงที่มีความเครียดอีกทั้งยังมีความวิตกกังวลสูง เพราะฉะนั้น ยิ่งในช่วงวัยรุ่นมีความกังวลมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้เกิดโรคซึมเศร้ามากยิ่งขึ้นเท่านั้น

โรคซึมเศร้าแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่…

1.โรคซึมเศร้าประเภทรุนแรง – จัดเป็นอาการซึมเศร้าอย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบถึงชีวิตในทุกๆ ด้าน รวมไปถึงการนอนหลับ

2.โรคซึมเศร้าประเภทเรื้อรัง – ถึงแม้โรคซึมเศร้าประเภทนี้ จะแสดงอาการและความรุนแรงของอาการน้อยกว่า หากแต่สภาวะซึมเศร้าประเภทนี้ จะคงอยู่ติดแน่นกับผู้ป่วยยาวนานกว่ามาก โดยอาการของโรคจะดำเนินเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป โดยผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังอาจมีบางช่วงที่ต้องประสบกับสภาวะซึมเศร้าประเภทรุนแรงร่วมด้วย

อาการของโรคซึมเศร้าเป็นอย่างไร

สำหรับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยแต่ละคน ก็จะมีอาการแสดงออกมาแตกต่างกันไป ตามความรุนแรงของโรค , เพศ รวมทั้งอายุ โดยในบางครั้งอาจปรากฏอารมณ์เศร้า , หดหู่ , วิตก , มีความรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า , ไม่มีดีอะไร , รู้สึกได้ถึงความโดดเดี่ยว และสิ้นหวัง อีกทั้งยังหงุดหงิดง่าย โดยอารมณ์เหล่านี้จะมีความรุนแรงมากกว่า นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา เกิดอาการเจ็บปวดตามร่างกาย นอนไม่หลับหรือนอนหลับมากจนเกินไป สำหรับผู้ป่วยบางรายอาจมีพฤติกรรมพยายามแยกตัวออกจากสังคม ไร้สมาธิ หมดความสนใจในเรื่องที่เคยชอบไป สำหรับในระดับร้ายแรง คือ คิดเรื่องฆ่าตัวตายหรืออาจทำร้ายตัวเองได้

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

สำหรับสาเหตุของโรคซึมเศร้า สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุนำมาประกอบกัน หรือ จากเหตุการณ์ใหญ่อันร้ายแรงเหตุการณ์เดียว จนกระทั่งเกิดการพัฒนาไปเป็นภาวะซึมเศร้า คือ การทำงานของสมองบางส่วนมีความผิดปกติไป , มีระดับสารเคมีในสมองไม่สมดุลกัน นอกจากนี้ยังสามารถรวมถึงลักษณะนิสัยเดิมของผู้ป่วย ซึ่งเอื้อต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย รวมถึงอาการป่วยที่เกิดจากโรคต่าง

การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า

  นักจิตวิทยา – จิตแพทย์ จะวินิจฉัยอาการป่วยเบื้องต้น ด้วยการพูดคุยเพื่อสอบถามถึงความเป็นมา ตลอดจนศึกษาพฤติกรรมของผู้ป่วยว่าเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าหรือไม่ และถ้าเป็นต้องกำหนดขอบข่ายให้ได้ว่ามีความรุนแรงในระดับใด หลังจากนั้นก็จะตรวจร่างกาย เช่น ตรวจเลือด , ตรวจปัสสาวะ , ตรวจความดัน เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจได้ว่าภาวะที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดมาจากโรคอื่น ๆ หลังจากนั้นจึงพิจารณาในเรื่องวิธีรักษาที่เหมาะสมในขั้นตอนต่อไป

การรักษาโรคซึมเศร้า

สำหรับการรักษาโรคซึมเศร้า ณ ปัจจุบัน ประกอบด้วย 3 วิธี ได้แก่… การใช้ยาต้านซึมเศร้า การพูดคุยบำบัดทางจิต การกระตุ้นเซลล์สมองและประสาท หากแต่วิธีรักษาส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยาต้านซึมเศร้า รวมทั้งการพูดคุยเพื่อบำบัดควบคู่กันไป หากแต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก จะต้องใช้การกระตุ้นเซลล์สมองเพื่อรักษาได้อย่างทันท่วงที ให้เขารอดพ้นจากการฆ่าตัวตาย นอกจากนี้จิตแพทย์ยังต้องวิเคราะห์อีกด้วยว่าจะต้องใช้ยาตัวไหน ใช้การพูดคุย รูปแบบใดจึงจะมีความปลอดภัยและเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ล่ะรายที่แตกต่างกัน

การป้องกันโรคซึมเศร้ามีหรือไม่ ?

เป็นเรื่องที่ต้องบอกก่อนเลยว่า โรคซึมเศร้าไม่มีวิธีการป้องกันที่แน่นอน เพราะสาเหตุเกิดได้หลายประการเหลือเกิน เช่น ความผิดปกติ , อาการเจ็บป่วย , การใช้ยาที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยอยู่เหนือการควบคุม นอกจากนี้การสร้างพฤติกรรมที่ดี จะช่วยทำให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าลดน้อยลงไปได้ ซึ่งต้องเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พยายามทำกิจกรรมเพื่อความสนุกสนานและผ่อนคลาย ก็จะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง