เกร็ดความรู้สู้โรค
โรคเอสแอลอีดูแลตัวเองอย่างไรโรคจะไม่กำเริบ
23 มกราคม 2563

655


โรคลูปัส หรือ SLE (Systemic lupus erythematosus)

เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองเรื้อรัง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันโจมตีเซลล์ที่มีสุขภาพดี รวมถึงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ เป็นที่รู้กันดีว่ามันส่งผลกระทบต่ออายุขัยของผู้ป่วย มีประชากรมากกว่า 5 ล้าน คนทั่วโลกเป็นผู้ที่เป็นโรคนี้ โดยเฉพาะผู้หญิงที่คิดเป็นประมาณ 90% ในขณะที่โรคเอสแอลอีนั้นอาจเป็นสาเหตุของความรู้สึกไม่สบายที่เกิดขึ้น แต่โดยทั่วไปแล้วเราสามารถจัดการมันได้ ด้วยการรักษาที่เหมาะสมและการติดตามผลทางคลินิก บ่อยครั้งที่ผลสำรวจประเมินว่า 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์จะมีอายุขัยเหมือนคนปกติ

ผลกระทบของโรคเอสแอลอีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค บางคนที่มีอาการผื่นแพ้ขั้นรุนแรงอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นเอสแอลอีที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต มันสามารถส่งผลกระทบไปเกือบทุกส่วนของร่างกาย อาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อน หรือเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของผู้ป่วย เอสแอลดีที่พบได้บ่อยมักเกิดกับสมอง ระบบประสาท หัวใจ ปอด และระบบไหลเวียนโลหิต

วิธีรับมือกับเอาแอลอี

ในขณะที่หลายคนที่มีอายุขัยปกติ มันเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำให้แน่ใจว่าพวกเขารักษาให้มันคงเป็นแบบนั้นได้ตลอดไป การอยู่ใช้ชีวิตกับโรคนี้นั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย ยาบางชนิดที่รักษาโรคสามารถทำให้เกิดปัญหาอื่นตามมา การใช้ชีวิตกับสุขภาพชีวิตที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องได้รับการชี้นำจากแพทย์ ในขณะที่ยาเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมโรคเอสแอลอี สำหรับผู้ป่วยสามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อจัดการกับอาการและปรับปรุงคุณภาพชีวิต เพื่อที่จะยืดอายุขัยของพวกเขาไปให้นานขึ้นกว่าเดิม

1.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สิ่งนี้จะช่วยลดความฝืดของกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคกระดูกพรุน บรรเทาความเครียด ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันหัวใจ

2.เลิกสูบบุหรี่ สิ่งนี้สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อ หัวใจวาย ลดความเสี่ยงของโรคปอดบวม หลอดลมอักเสบและโรคหลอดเลือดหัวใจ

3.พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนจะช่วยลดความเหนื่อยล้า ลดความเสี่ยงของอาการแพ้ รวมถึงลดความไวต่อความเจ็บปวด

4.หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดโดยตรง รวมถึงแสงจากแสงฟลูออเรสเซนต์ ช่วยป้องกันความไวแสง UV

5.ทานวิตามินดี ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนจากการสัมผัสกับแสงแดดที่น้อยลง

6.การล้างมือเป็นประจำ จะช่วยป้องกันการติดเชื้อในผู้ที่มีความอ่อนแอเป็นพิเศษ

7.การจัดการความเจ็บปวด การอาบน้ำอุ่นช่วยบรรเทาความเครียด รวมถึงการฝังเข็ม หรือไคโรแพรคติกจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้เป็นอย่างดี

8.การจัดการสุขภาพจิต การขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต สามารถช่วยป้องกันไม่ให้มีอาการของภาวะซึมเศร้า